Hima

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การเคลื่อนย้ายมวลสาร (Teleportation)

😝การเคลื่อนย้ายมวลสาร (Teleportation)😝
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ teleportation
cr.https://unity3d.college/2017/05/16/steamvr-locomotion-teleportation-movement/
      การเคลื่อนย้ายมวลสาร ก็คือการที่มวลสารถูกส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องสนใจในระยะเวลาและระยะทาง คือ เคลื่อนย้ายปุ๊ปก็ถึงปั๊ปอะไรประมาณนั้น
 แรกเริ่มเดิมที การวิจัยการเคลื่อนย้ายมวลสาร ถูกกำหนดให้อยู่ในขอบเขตของอนุภาคและอะตอม โดยมีเจ้าภาพหลักเป็นนักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์อนุภาค และในขณะเดียวกัน ทางด้านนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เอง ก็มีการวิจัยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นเดียวกัน
ควอนตัมคอมพิวเตอร์มันมาเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายมวลสาร ก็เพราะว่าพื้นฐานของควอนตัมคอมพิวเตอร์ คือ คิวบิต หรือก็คือ บิต ทางคอมพิวเตอร์ ที่สามารถมีสภาวะพร้อมกัน 2 สภาวะได้ นั่นคือ 0 และ 1 ซึ่งช่วยทำให้การประมวลผลเร็วขึ้นอย่างมากมายมหาศาล แต่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ก็มีความทะเยอทะยาน คิดว่าการที่คิวบิตมีได้ 2 สภาวะยังเร็วไม่พอ สิ่งที่ควรจะเร็วขึ้นอีกก็คือการที่คิวบิตแต่ล่ะตัว สามารถส่งผ่านสภาวะของแต่ล่ะคิวบิตหรือหลายคิวบิตแบบเคลื่อนย้ายมวลสารได้เลย โดยไม่ต้องขึ้นกับระยะทางหรือระยะเวลา
ลองนึกถึงภาพของดิจิทัลคอมพิวเตอร์เปรียบเทียบดูก็จะเข้าใจ เพราะดิจิทัลคอมพิวเตอร์ใช้ประจุไฟฟ้าเพื่อสร้างเป็นสัญญาณ 0 กับ 1 ในขณะที่ประจุไฟฟ้าเองก็เกิดจากการที่อิเลกตรอนกระโดดจากวงโคจรของอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่งเป็นทอด ๆ แต่ควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีคิวบิตแบบเคลื่อนย้ายมวลสาร สามารถที่จะเกิดสภาวะแบบคิวบิตได้พร้อมกันในฉับพลันทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีอิเลกตรอนมากระโดดข้ามอะตอมให้เสียเวลาแต่ประการใด
โดยหลักการแล้วการเคลื่อนย้ายมวลสาร ควรจะเป็นการเคลื่อนย้ายจริง ๆ แต่ทว่า โดยการปฏิบัติทุกวันนี้ที่พิสูจน์ทราบได้ในงานวิจัย การเคลื่อนย้ายมวลสาร คือการสำเนาสภาวะทั้งปวงของต้นแบบให้ไปปรากฎในที่ใหม่อย่างฉับพลันทันที และต้องทำลายตัวต้นแบบทิ้งไปทันทีหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว!!!
มันจะไม่เหมือนการส่งโทรสารหรือการถ่ายเอกสาร เพราะตัวต้นแบบก็ยังคงดูแตกต่างจากตัวสำเนา แต่มันจะเหมือนกับการก๊อปไฟล์หรือแชร์ไฟล์ ที่เราแทบแยกไม่ออกเลยว่าตัวต้นแบบกับตัวสำเนามันแตกต่างกันยังไง!!!
ปัญหาทางจริยธรรมจึงเกิดขึ้น เพราะถ้าหากมีการคิดค้นวิธีการเคลื่อนย้ายมวลสารของสิ่งมีชีวิตได้ เราก็คงจะต้องมาใส่ใจกันมากขึ้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวต้นแบบ ตัวต้นแบบจะต้องถูกทำลายทิ้งไป หลังจากที่มีการเคลื่อนย้ายมวลสารไปยังปลายทางสำเร็จใช่มั้ย? แล้วถ้าเกิดการทำลายตัวต้นแบบไม่สามารถทำได้ มันจะเกิดอะไรกับตัวปลายทาง ตัวปลายทางจะถือว่าตัวเองคือตัวต้นแบบหรือไม่??
สำหรับปัญหาทางจริยธรรมเราก็คงเก็บเอาไว้ก่อน มาดูความเป็นไปได้ทางเทคนิคก่อนว่า ถ้าด้วยการพิสูจน์ทราบในปัจจุบัน ที่ต้องสร้างของใหม่และทำลายของเก่า แล้วเราจะเคลื่อนย้ายมวลสารของร่างกายมนุษย์ เราจะทำยังไงดังภาพข่างล่างนี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทฤษฎีการเคลื่อนย้ายมวลสาร
cr.https://medium.com/@sikarinyookong/การเคลื่อนย้ายสถานะทางควอนตัม-quantum-teleportation-6a260692d6de 
แนวคิดสั้น ๆ ที่อธิบายภาพข้างบนก็คือ เอาร่างกายไปก่อน แล้วเอาความรู้สึกนึกคิดตามไปทีหลัง จากนั้นจึงค่อยทำลายตัวต้นแบบทิ้งไปซะ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ สำหรับผู้สังเกตแล้ว จะมองเหมือนกับว่าทุกอย่างเป็นปรกติ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะความรู้สึกนึกคิดและร่างกายของผู้ถูกเคลื่อนย้ายมวลสารยังคงเหมือนเดิม ในขณะที่กายและจิตของผู้ถูกเคลื่อนย้ายมวลสาร ก็จะต่อเนื่องความทรงจำต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หากแต่ร่างและจิตต้นแบบถูกทำให้ดับสูญไป และไม่สามารถต่อเนื่องความรู้สึกได้ต่อไป ก็เท่านั้นเอง
cr.http://www.parinya.net/node/1780
😳Quantum Teleportation ทำงานยังไง?😳


cr.https://medium.com/@sikarinyookong/การเคลื่อนย้ายสถานะทางควอนตัม-quantum-teleportation-6a260692d6de 


D-Tech - Teleportation การเคลื่อนย้ายมวลสารในชั่วพริบตา


cr.https://www.youtube.com/watch?v=2HxB1w-mius














วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมที่ 3 ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

👅ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์👅

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
cr.https://sites.google.com/site/krupanisara/unit1/type

              คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ จึงเป็นการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้หลากหลาย  ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้  5 ประเภท คือ
              1.  โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
              2.  โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
              3.  โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
              4.  โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
              5.  โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

 🙏1.  โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)🙏


เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ

😰2.  โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)😭


เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D


😶 3.  โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)😶


        เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า  ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น


😫4.  โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)😫

        
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

 💆5.  โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)💆



เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และหรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่  และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

cr.https://sites.google.com/a/kts.ac.th/it_kts/unit5/subunit5-1

กิจกรรมที่ 2 องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงงานคอมพิวเตอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์เทพ
cr.https://www.kaidee.com/product-335163555-คอมเทพมาแล้วจัดเต็ม-สเป็คแรงๆ-CORE-I5-661-RAM-8-GB-การ์ดจอ-G


😜ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์😜


ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้


cr.http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html


😆ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์😆


โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
2. ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
2.1 การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
2.2 การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน
2.3 การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ
2.4 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครงงานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อ
สังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น
2.5 การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและ
ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
6. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม






😎ขอบข่ายของโครงงานคอมพิวเตอร์😎


1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว
2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้
5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย



วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 5 บทความสำหรับทำโครงงานคอมพิวเตอร์

😐พฤติกรรมความรุนแรง เป็นอาการทางจิตเวชหรือไม่?😐

cr.http://itsjayjaymbm24.blogspot.com/2015/06/blog-post_20.html

พฤติกรรมความรุนแรง ไม่ว่าจะด้วยการกระทำหรือวาจา การทำร้ายร่างกาย การด่าทอเสียดสี ล้วนนำมาซึ่งผลเสียหลายอย่าง ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น พฤติกรรมความรุนแรงยังก่อให้เกิดความอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อีกด้วย หลายคนยังสงสัยอยู่ว่าพฤติกรรมนี้เรียกว่าอาการป่วยทางจิตเวชหรือไม่ สามารถรักษาได้หรือไม่ได้อย่างไร คือที่มาของการนำเสนอข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชโดยเฉพาะ
ทำความเข้าใจ พฤติกรรมความรุนแรง และอาการทางจิตเวช
cr.https://sites.google.com/site/uhg0p5tujgp50/paccay-laea-phvtikrrm-seiyng-tx-khwam-plxdphay-keiyw-kab-khwam-runraeng
พฤติกรรมความรุนแรง แสดงออกถึงความก้าวร้าว เช่น ด่าทอเสียดสี ทำร้ายร่างกาย รวมไปถึงการก่ออาชญากรรม อาจไม่ใช่อาการทางจิตเวชเสมอไป ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของพฤติกรรมส่วนบุคคล ต้องพิจารณาหลายด้านประกอบกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพฤติกรรมความรุนแรงบางประเภทก็มีสาเหตุมาจากอาการทางจิตเวชได้
😡พฤติกรรมความรุนแรง มีสาเหตุจากอะไรบ้าง?😡
ภาวะทางอารมณ์
cr.http://abnormalbehaviorchild.com/วิธีควบคุมอารมณ์เด็กที่/
เกิดจากการถูกกดดัน หรือถูกรบกวนทางอารมณ์ ทำให้เกิดภาวะโกรธ หงุดหงิด บางรายอาจแสดงพฤติกรรมความรุนแรงออกมาได้ ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดจากสาเหตุนี้มักมีเป็นครั้งคราวไม่ใช่ทุกครั้ง และการแสดงออกไม่ถึงขั้นทำร้ายร่างกายผู้อื่น จึงไม่เป็นอันตราย สามารถเกิดได้กับคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรค
โรคทางจิตเวช
ผู้ป่วยทางจิตเวชบางรายอาจแสดงพฤติกรรมความรุนแรงออกมาได้ในบางกรณี อาจมีสาเหตุมาจากการขาดยา ทำให้มีอาการหวาดระแวง ประสาทหลอน หรือในบางรายมีปัญหาทางด้านอารมณ์บางอย่าง เช่น อารมณ์หงุดหงิด อารมณ์ซึมเศร้า หากมีอาการมาก ๆ อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงได้ รวมถึงโรคสมาธิสั้น ที่อาจทำให้หงุดหงิด และยับยั้งชั่งใจได้ยาก จึงแสดงออกในรูปแบบของพฤติกรรมความรุนแรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโรคจิตเวชก็ไม่ได้ส่งผลให้แสดงพฤติกรรมความรุนแรงเสมอไป
โรคทางกาย
การแสดงพฤติกรรมความรุนแรงอาจมีสาเหตุมาจากภาวะทางร่างกาย ยกตัวอย่าง ผู้ใช้สารเสพติด ได้รับสารที่ไปกระตุ้นอารมณ์ให้เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ อาจทำให้เกิดอาการคล้ายโรคทางจิตเวช เช่น ประสาทหลอน ทำให้มีพฤติกรรมความรุนแรงเกิดขึ้นได้ หรืออาจเกิดจากโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคทางระบบประสาท ลมชักบางชนิด ที่ทำให้มีอาการพฤติกรรมความรุนแรง
👪ครอบครัวส่งผลต่อพฤติกรรมรุนแรงได้หรือไม่👪
cr.http://www.thainannyclub.com/article/1428-
การเติบโตในครอบครัวย่อมทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้ และถ้าหากเติบโตในครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวมักใช้ความรุนแรงอยู่เสมอ เด็กที่เติบโตในครอบครัวนั้นอาจมีพฤติกรรมความรุนแรงเช่นกัน เด็กกลุ่มนี้อาจเลือกใช้พฤติกรรมความรุนแรงในการปรับตัวให้เข้ากับสังคม เลือกใช้กำลังแก้ไขปัญหา แต่ก็อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเด็กบางคนที่เติบโตในครอบครัวที่มีพฤติกรรมความรุนแรง ก็อาจหลีกเลี่ยงการใช้พฤติกรรมนี้
การแสดงออกของพฤติกรรมความรุนแรง
  1. การใช้วาจาที่รุนแรง หยาบคาย ด่าทอ เสียดสี รวมถึงการเขียนแสดงความคิดเห็นบนโซเชียลเน็ตเวิร์คด้วยถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม เพื่อทำให้อีกฝ่ายเกิดความทุกข์ใจ
  2. การใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญหรือกดดัน ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกกดดันทางจิตใจ
  3. การใช้กำลังประทุษร้ายผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเกิดอันตรายถึงชีวิต
พฤติกรรมความรุนแรง จะเกิดขึ้นกับใคร
  1. สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย วัยรุ่นอาจมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีความอยากลองทำอะไรเสี่ยง ๆ หรืออยากเป็นตัวของตัวเอง และมีการควบคุมหรือยับยั้งชั่งใจต่ำ
  2. กลุ่มคนที่มีความกดดันทางจิตใจบางอย่าง มักสะท้อนออกมาว่า ณ เวลานั้นมีความกดดันเกิดขึ้น และอยากต่อสู้หรือทำให้อีกฝ่ายรู้สึกถึงความอันตราย เหมือนเป็นการปกป้องตัวเอง
  3. กลุ่มคนที่เป็นโรคหรือภาวะบางอย่าง ทำให้สูญเสียการควบคุม
หากไม่ได้รับการรักษาพฤติกรรมความรุนแรง จะเป็นอย่างไร
  1. ผลเสียด้านร่างกาย มีอันตรายต่อการใช้ชีวิต เป็นภัยต่อตนเองและผู้อื่น
  2. ผลเสียด้านสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจ อาจมีความกดดันเกิดขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งมากขึ้น รวมถึงตัวโรคที่ไม่ได้รับการรักษา
  3. ผลเสียด้านกฎหมาย อาจทำให้กลายเป็นคนที่มีคดีติดตัว อันเกิดจากการกระทำที่รุนแรงของตนเอง
  4. ผลเสียด้านสังคม คือสังคมไม่ยอมรับหรือเกลียดชัง
การรักษาพฤติกรรมความรุนแรง
วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้ก้าวร้าวรุนแรง ทั้งทางชีวภาพ ทางด้านจิตใจ และทางด้านสังคม จากนั้นประเมินความรุนแรงของอาการ ว่ามีการทำร้ายคนอื่นหรือไม่ บางรายพบว่าพันธุกรรมมีส่วนแต่ไม่เสมอไปหรือบางรายมีความกดดัน ความขัดข้องใจแล้วจัดการไม่เป็น ทำให้แสดงความก้าวร้าว นอกจากนี้ยังพบว่าบางรายมีการเลียนแบบจากสื่อ เป็นต้น จากนั้นทำการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิด
cr.https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/พฤติกรรมความรุนแรง-เป็น/
👮เยาวชนกับพฤติกรรมความรุนแรง👮

cr.https://www.youtube.com/watch?v=gcaKWOPw9eE


👸การป้องกันแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว👸



cr.https://www.youtube.com/watch?v=xTNAy88awAI


งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
😱ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว😱



cr.https://tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/download/116657/94918/



การเคลื่อนย้ายมวลสาร (Teleportation)

😝การเคลื่อนย้ายมวลสาร (Teleportation)😝 cr. https://unity3d.college/2017/05/16/steamvr-locomotion-teleportation-movement/       การเ...