Hima

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การเคลื่อนย้ายมวลสาร (Teleportation)

😝การเคลื่อนย้ายมวลสาร (Teleportation)😝
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ teleportation
cr.https://unity3d.college/2017/05/16/steamvr-locomotion-teleportation-movement/
      การเคลื่อนย้ายมวลสาร ก็คือการที่มวลสารถูกส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องสนใจในระยะเวลาและระยะทาง คือ เคลื่อนย้ายปุ๊ปก็ถึงปั๊ปอะไรประมาณนั้น
 แรกเริ่มเดิมที การวิจัยการเคลื่อนย้ายมวลสาร ถูกกำหนดให้อยู่ในขอบเขตของอนุภาคและอะตอม โดยมีเจ้าภาพหลักเป็นนักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์อนุภาค และในขณะเดียวกัน ทางด้านนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เอง ก็มีการวิจัยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นเดียวกัน
ควอนตัมคอมพิวเตอร์มันมาเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายมวลสาร ก็เพราะว่าพื้นฐานของควอนตัมคอมพิวเตอร์ คือ คิวบิต หรือก็คือ บิต ทางคอมพิวเตอร์ ที่สามารถมีสภาวะพร้อมกัน 2 สภาวะได้ นั่นคือ 0 และ 1 ซึ่งช่วยทำให้การประมวลผลเร็วขึ้นอย่างมากมายมหาศาล แต่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ก็มีความทะเยอทะยาน คิดว่าการที่คิวบิตมีได้ 2 สภาวะยังเร็วไม่พอ สิ่งที่ควรจะเร็วขึ้นอีกก็คือการที่คิวบิตแต่ล่ะตัว สามารถส่งผ่านสภาวะของแต่ล่ะคิวบิตหรือหลายคิวบิตแบบเคลื่อนย้ายมวลสารได้เลย โดยไม่ต้องขึ้นกับระยะทางหรือระยะเวลา
ลองนึกถึงภาพของดิจิทัลคอมพิวเตอร์เปรียบเทียบดูก็จะเข้าใจ เพราะดิจิทัลคอมพิวเตอร์ใช้ประจุไฟฟ้าเพื่อสร้างเป็นสัญญาณ 0 กับ 1 ในขณะที่ประจุไฟฟ้าเองก็เกิดจากการที่อิเลกตรอนกระโดดจากวงโคจรของอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่งเป็นทอด ๆ แต่ควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีคิวบิตแบบเคลื่อนย้ายมวลสาร สามารถที่จะเกิดสภาวะแบบคิวบิตได้พร้อมกันในฉับพลันทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีอิเลกตรอนมากระโดดข้ามอะตอมให้เสียเวลาแต่ประการใด
โดยหลักการแล้วการเคลื่อนย้ายมวลสาร ควรจะเป็นการเคลื่อนย้ายจริง ๆ แต่ทว่า โดยการปฏิบัติทุกวันนี้ที่พิสูจน์ทราบได้ในงานวิจัย การเคลื่อนย้ายมวลสาร คือการสำเนาสภาวะทั้งปวงของต้นแบบให้ไปปรากฎในที่ใหม่อย่างฉับพลันทันที และต้องทำลายตัวต้นแบบทิ้งไปทันทีหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว!!!
มันจะไม่เหมือนการส่งโทรสารหรือการถ่ายเอกสาร เพราะตัวต้นแบบก็ยังคงดูแตกต่างจากตัวสำเนา แต่มันจะเหมือนกับการก๊อปไฟล์หรือแชร์ไฟล์ ที่เราแทบแยกไม่ออกเลยว่าตัวต้นแบบกับตัวสำเนามันแตกต่างกันยังไง!!!
ปัญหาทางจริยธรรมจึงเกิดขึ้น เพราะถ้าหากมีการคิดค้นวิธีการเคลื่อนย้ายมวลสารของสิ่งมีชีวิตได้ เราก็คงจะต้องมาใส่ใจกันมากขึ้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวต้นแบบ ตัวต้นแบบจะต้องถูกทำลายทิ้งไป หลังจากที่มีการเคลื่อนย้ายมวลสารไปยังปลายทางสำเร็จใช่มั้ย? แล้วถ้าเกิดการทำลายตัวต้นแบบไม่สามารถทำได้ มันจะเกิดอะไรกับตัวปลายทาง ตัวปลายทางจะถือว่าตัวเองคือตัวต้นแบบหรือไม่??
สำหรับปัญหาทางจริยธรรมเราก็คงเก็บเอาไว้ก่อน มาดูความเป็นไปได้ทางเทคนิคก่อนว่า ถ้าด้วยการพิสูจน์ทราบในปัจจุบัน ที่ต้องสร้างของใหม่และทำลายของเก่า แล้วเราจะเคลื่อนย้ายมวลสารของร่างกายมนุษย์ เราจะทำยังไงดังภาพข่างล่างนี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทฤษฎีการเคลื่อนย้ายมวลสาร
cr.https://medium.com/@sikarinyookong/การเคลื่อนย้ายสถานะทางควอนตัม-quantum-teleportation-6a260692d6de 
แนวคิดสั้น ๆ ที่อธิบายภาพข้างบนก็คือ เอาร่างกายไปก่อน แล้วเอาความรู้สึกนึกคิดตามไปทีหลัง จากนั้นจึงค่อยทำลายตัวต้นแบบทิ้งไปซะ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ สำหรับผู้สังเกตแล้ว จะมองเหมือนกับว่าทุกอย่างเป็นปรกติ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะความรู้สึกนึกคิดและร่างกายของผู้ถูกเคลื่อนย้ายมวลสารยังคงเหมือนเดิม ในขณะที่กายและจิตของผู้ถูกเคลื่อนย้ายมวลสาร ก็จะต่อเนื่องความทรงจำต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หากแต่ร่างและจิตต้นแบบถูกทำให้ดับสูญไป และไม่สามารถต่อเนื่องความรู้สึกได้ต่อไป ก็เท่านั้นเอง
cr.http://www.parinya.net/node/1780
😳Quantum Teleportation ทำงานยังไง?😳


cr.https://medium.com/@sikarinyookong/การเคลื่อนย้ายสถานะทางควอนตัม-quantum-teleportation-6a260692d6de 


D-Tech - Teleportation การเคลื่อนย้ายมวลสารในชั่วพริบตา


cr.https://www.youtube.com/watch?v=2HxB1w-mius














วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมที่ 3 ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

👅ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์👅

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
cr.https://sites.google.com/site/krupanisara/unit1/type

              คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ จึงเป็นการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้หลากหลาย  ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้  5 ประเภท คือ
              1.  โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
              2.  โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
              3.  โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
              4.  โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
              5.  โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

 🙏1.  โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)🙏


เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ

😰2.  โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)😭


เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D


😶 3.  โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)😶


        เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า  ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น


😫4.  โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)😫

        
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

 💆5.  โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)💆



เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และหรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่  และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

cr.https://sites.google.com/a/kts.ac.th/it_kts/unit5/subunit5-1

กิจกรรมที่ 2 องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงงานคอมพิวเตอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์เทพ
cr.https://www.kaidee.com/product-335163555-คอมเทพมาแล้วจัดเต็ม-สเป็คแรงๆ-CORE-I5-661-RAM-8-GB-การ์ดจอ-G


😜ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์😜


ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้


cr.http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html


😆ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์😆


โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
2. ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
2.1 การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
2.2 การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน
2.3 การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ
2.4 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครงงานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อ
สังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น
2.5 การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและ
ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
6. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม






😎ขอบข่ายของโครงงานคอมพิวเตอร์😎


1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว
2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้
5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย



การเคลื่อนย้ายมวลสาร (Teleportation)

😝การเคลื่อนย้ายมวลสาร (Teleportation)😝 cr. https://unity3d.college/2017/05/16/steamvr-locomotion-teleportation-movement/       การเ...